สัดส่วนประชากรชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย จะมีบทบาทสำคัญ ในการกำหนดทิศทางตลาดยานยนต์ภายในปี 2573 คนชั้นกลางรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับคุณภาพความสะดวกสบาย และความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ความต้องการในด้านยานพาหนะของคนกลุ่มนี้จะมุ่งเน้น ที่ความคล่องตัวในการใช้งานจริง เทคโนโลยี และความคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งวินฟาสต์ แบรนด์รถยนต์ชั้นนำจากเวียดนามกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะมีจำนวนเติบโตอย่างมาก โดยคาดการณ์ว่า ภายในปี 2573 จะมีสัดส่วนถึงสองในสามของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากระดับเพียง 29% ในปี 2553 ตามรายงานของ PwC ปี 2561 ชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตนี้กำลังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต ด้วยพฤติกรรมที่พร้อมจะจ่ายเพื่อคุณภาพ ความสะดวกสบาย และทางเลือกที่เหนือกว่ารถยนต์เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญในภูมิทัศน์ของตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์มักใช้เป็นตัววัดสุขภาวะทางการเงินและกำลังซื้อของกลุ่มชนชั้นกลาง อย่างไรก็ตาม ประชากรกลุ่มนี้ไม่เพียงแค่มุ่งมั่นสร้างสถานะทางสังคม แต่ยังมีความตื่นตัวในด้านสิ่งแวดล้อมและหันมาสนใจตัวเลือกสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรถยนต์ไฟฟ้าการสำรวจของ Milieu ในปี 2564 ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสนใจใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างมาก โดยมีสัดส่วนถึง 56% ในประเทศไทย 51% ในเวียดนาม และ 47% ในฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
รถยนต์ในอุดมคติของกลุ่มชนชั้นกลาง
คุณลักษณะหลักสามอย่างที่กลุ่มผู้ซื้อรถยนต์ระดับกลางมองหาคือ ความคุ้มค่า ความปลอดภัย และฟังก์ชันการ
ใช้งาน เมื่อพูดถึงความคุ้มค่า กลุ่มชนชั้นกลางจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากกว่าคุณสมบัติของเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูง จากรายงานของ Vero/WeBridge ในปี 2566
คนไทยจำนวน 27% และชาวฟิลิปปินส์จำนวน 33% ตอบว่าประสิทธิภาพในการใช้พลังงานเป็นแรงจูงใจหลัก
ในการตัดสินใจซื้อรถยนต์
ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อพิจารณาถึงความผันผวนของราคาพลังงานในปัจจุบัน และผู้บริโภคจำนวนมากเหล่านี้
เพิ่งเป็นเจ้าของรถยนต์คันแรก และตั้งใจใช้เป็นยานพาหนะสำหรับทั้งการเดินทางในชีวิตประจำวัน และท่องเที่ยวกับครอบครัวในวันหยุด
ความปลอดภัยก็เป็นข้อพิจารณาสำคัญอีกประการหนึ่ง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีครอบครัว ผู้ซื้อกลุ่มนี้ต่างมองหารถยนต์ที่มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ถุงลมนิรภัยหลายใบ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ESC) และกล้องมองหลัง ผู้ซื้อหลายรายยินดีที่จะแลกฟีเจอร์สิ่งอำนวยความสะดวกที่หรูหรา เช่น เบาะหนังหรือซันรูฟ เพื่อให้ได้รถที่ปลอดภัยมากขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ซื้อรถยนต์ระดับกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังให้ความสำคัญกับฟังก์ชันการใช้งาน และ
ความคล่องตัวอีกด้วย ความชอบส่วนบุคคลและความเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะในประเทศไทย (53%) อินโดนีเซีย (43%) และเวียดนาม (39%)
ผู้ซื้อรถกลุ่มนี้มองหายานพาหนะซึ่งสามารถรองรับความต้องการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งสมาชิกในครอบครัว วางสัมภาระเมื่อไปจับจ่ายของใช้ในบ้าน หรือการเดินทางช่วงสุดสัปดาห์ ส่งผลให้เกิดความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับรถยนต์อเนกประสงค์ในอินโดนีเซีย และรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดกะทัดรัดในประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางและให้ความยืดหยุ่นในการใช้งานได้หลากหลาย
นอกจากนั้น ผู้ซื้อรถกลุ่มนี้ยังสนใจรถยนต์ที่มีคุณสมบัติทางเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย
และเชื่อมต่อระบบการสื่อสารและทำงานทั้งหมดเข้าด้วยกัน ด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น ระบบอินโฟเทนเมนต์หน้าจอสัมผัส
การเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน และเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่ เช่น ระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ และระบบเตือนการออกนอกเลน
โอกาสสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ในภูมิภาค
ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ย่อมเข้าใจถึงความต้องการของผู้คนในภูมิภาคเดียวกัน ในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเพิ่งถือกำเนิด และกำลังเติบโตอย่างมากในภูมิภาคอาเซียน
“ประเทศเกิดใหม่และประเทศที่มีรายได้ปานกลางจำนวนมากไม่ต้องการเป็นเพียงตลาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
แต่ต้องการเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรืออย่างน้อยก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของโลก” เจมส์ กิลด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้า การเงิน และการพัฒนาเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขียนไว้ในบทความในนิตยสาร The Diplomat
แม้ยังขาดประสบการณ์อันยาวนานอย่างแบรนด์รถยนต์ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก แต่ผู้ผลิตรถยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีข้อได้เปรียบจากความเข้าใจเชิงลึกในตลาดภูมิภาคและรู้ว่าจะมุ่งเน้นพัฒนาฟีเจอร์ และคุณลักษณะ
ของรถยนต์อย่างไรให้โดนใจชนชั้นกลางในอาเซียนได้
วินฟาสต์ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหน้าใหม่จากเวียดนามที่เพิ่งมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสูงเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือหนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่น และ VF 5 เอสยูวีในเซกเมนต์ A ซึ่งเป็นรถยนต์รุ่นเริ่มต้นของแบรนด์ ก็สะท้อนให้เห็นว่าวินฟาสต์เข้าใจถึงความต้องการของตลาดรถยนต์ในอาเซียน
VF 5 ซึ่งกำลังเปิดตัวในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อรถชนชั้นกลางได้ในทุกด้าน ด้วยความเป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถรุ่นนี้จึงมีค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่ต่ำกว่ารถยนต์น้ำมันเบนซิน ในเวียดนาม
รถรุ่นนี้คว้ารางวัลรถยนต์แห่งปีสองรางวัล ในประเภท “รถยนต์ที่ประหยัดที่สุด” และ “ดีที่สุดในกลุ่มที่มีราคาต่ำกว่า 500 ล้านดองเวียดนาม (ประมาณ 19,600 ดอลลาร์สหรัฐ)”
VF 5 มีความยาว 3,967 มม. กว้าง 1,723 มม. สูง 1,578 มม. จึงมีขนาดกะทัดรัด เหมาะสำหรับการขับขี่ในเมือง ภายในกว้างขวางด้วยเบาะ 5 ที่นั่ง พรั่งพร้อมฟีเจอร์สุดล้ำ ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอคอนโซลขนาด 8 นิ้ว ระบบระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ (ADAS) พื้นฐาน และคุณสมบัติด้านความปลอดภัย เช่น ถุงลมนิรภัย 4 ใบ ระบบเบรค ABS,
ระบบช่วยกระจายแรงเบรกแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EBD), ระบบช่วยเบรก, ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (ESC) และสัญญาณกันขโมย
วินฟาสต์ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการสัญจรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์
โดยล่าสุด ได้แต่งตั้ง คิม ยูจอง นักแสดงสาวชื่อดังชาวเกาหลีใต้ เป็นแอมบาสซาเดอร์ของรถยนต์ VF 5
ความงามของคิม ยูจอง ที่ผสมผสานเสน่ห์แบบกุลสตรีกับความเฉลียวฉลาดแบบสาวยุคใหม่ สะท้อนถึงคุณสมบัติของ VF 5 รถยนต์อเนกประสงค์คู่ใจที่ใช้ขับขี่ในชีวิตประจำวันบนถนนอันพลุกพล่านของกรุงเทพฯ ไปจนถึงบนถนน
เลียบชายหาดอันเงียบสงบในภูเก็ต
วินฟาสต์ กำลังเตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าครบไลน์ทุกรุ่นในประเทศไทย ประเดิมด้วย VF 5 ซึ่งนำมาให้ชาวไทย
ได้สัมผัสกันได้อย่างใกล้ชิดกับเอกซ์คลูซีฟป็อปอัพในศูนย์การค้าชั้นนำทั่วประเทศ โดยเริ่มจากศูนย์การค้า
เซ็นทรัลเวิลด์ ระหว่างวันที่ 9 – 14 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา
ใส่ความเห็น